Posts

ประสบการณ์วิ่งขึ้นรถไฟและนิสัยใจคอของชาวเยอรมัน

Bild
เชื่อว่าชาวไทยที่มาเหยียบถิ่นเยอรมนี ต้องเคยมีประสบการณ์วิ่งไล่จับรถไฟกันทุกคนนะคะ อย่างวันนี้ ฝ้ายต้องเปลี่ยนขบวนที่ Siegen เพื่อกลับไปเมือง Gießen โดยมีเวลาเปลี่ยนขบวนแค่ 4 นาที ซึ่งถ้าขบวนมาถึงตรงเวลา ก็เฉียดฉิวอยู่แล้ว ถ้าไม่ได้มาตัวเปล่า และยิ่งมีกระเป๋าเดินทาง มี baby พร้อมข้าวของของหนูน้อย หรือถ้าเป็นคนพิการทางสายตาอีก ที่ไม่มีทางวิ่งทันแน่ ๆ จะเปลี่ยนขบวนทันได้ยังไง เมื่อขบวนก็มาถึงสถานีช้าไปจากกำหนด 3 นาที 🙄 . สิ่งที่เราได้เรียนรู้วันนี้ หลังจากวิ่งเต็มสูบพร้อมลาก Rimowa มาตลอดทาง คือเห็นการทำงานเป็นทีม และการช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่าของคนแปลกหน้า . คุณพ่อรับหน้าที่อุ้ม baby แล้ววิ่งมาให้ทันรถไฟ จากนั้น ยืนขวางประตูรถไฟไว้ จนเรามาถึง ก็ได้อานิสงส์ไปด้วย จากนั้น คุณภรรยาก็ตามมาสมทบพร้อมล้อเข็นเด็ก และเป้ที่ดูทรงแล้วน่าจะหนักอยู่ . พอหยุดพักพอหายใจหายคอได้แล้ว ก็แจ้งเจ้าหน้าที่รถไฟ ที่เดินมาบอกให้คุณพ่อหยุดยืนขวางประตู ได้รับทราบว่า “มีคุณผู้หญิงพิการทางสายตา กำลังเดินมายังรถไฟนี้คนเดียว คุณช่วยเธอหน่อยสิ” ซึ่งพูดไม่ทันขาดคำ คุณผู้หญิงก็เดินมาถึงประตูรถไฟคนเดียว ด้วยไม้เท้าคู่ใจ

หอมกลิ่นไม้ป่าแห่งเยาว์วัยกับ Murakami

Bild
#Bookaholic #Murakami #NorwegianWood #Nostalgia I got this book from one of my close friends as I left home and began a new journey in Germany. I read the Thai version in 2008 and really disliked it - too much about love and grief - which was hard to comprehend for a person like me who’s never experienced such a thing. . In 2017, I found this book - German version - in a #secondhand bookstore - bought it just for Murakami’s sake though no appetite to reread it. Somehow in 2020, I felt that I should reread it and let me see 12 years later what I could learn from the book that most people suggest is the #easiest among other #weird books of Murakami. I brought it with me while I travelled to #irkutsk in Feb. . It did surprise me from the first paragraph. The story began in Germany - Hamburg in a plane (i was sitting on a plane to Russia 🇷🇺 ) and other tiny things about music, books, and the life of Tōru. It’s just the right time to read it. . I found that #rereading your old books is an

คืนนี้ไปอ่านหนังสือที่บาร์ไหนดี?

Bild
สำหรับคนที่ชอบอ่านหนังสือ แต่เบื่อที่จะอ่านที่บ้านหรือตามร้านกาแฟ vlog นี้รวบตึง 6 บาร์ในเมืองกรุงที่เหมาะแก่การอ่านหนังสือและดื่มดำกับบรรยากาศยามค่ำคืน อย่างในรูปนี่คือสาว ๆ ข้างหลังเฮฮาแล้วกำลังเมาได้ที่ 😂😂😂 เกณ​ฑ์การคัดเลือกประกอบด้วย  1. การเดินทาง (1/10) เดินทางได้ด้วย BTS  2. ราคา (3/10) แพงได้ 1 คะแนน ย่อมเยากว่าได้ 3 คะแนน  3. dress code (0.5/10) หากต้องแต่งตัวให้เหมาะสมกับสถานที่ ห้ามรองเท้าแตะ ได้ 0 คะแนน 4. พนักงาน (3/10) ดูแลใส่ใจดีได้ 3 คะแนน 5. เพลง (2/10) เล่นสดได้ 2 คะแนน 6. วิวบรรยากาศ (0.5/10) มีที่ให้ดูหรือมองออกไปข้างนอก หรือสถานที่สวยได้ 0.5 คะแนน ไล่ลำดับความชอบจากลำดับที่ 6 ไปหาลำดับที่ 1 นะคะ ลองทายดูนะคะ ว่ามีบาร์อะไรบ้าง บาร์ลำดับที่ 6 - 6.5/10 ราคารับได้ เพลง  Jazz เล่น สดดีมาก (0+3+0.5+1+2+0)  บาร์ลำดับที่ 5 - 5.5/10 ใกล้ BTS ศาลาแดง เดินได้สบาย ๆ (1+2+0.5+1+1+0)  บาร์ลำดับที่ 4 - 4.5/10 วิวหรูหรา ราคาก็เลยหรูหราตามสไตล์​ rooftop bar ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มาพร้อมกับ dress code (0+1+0+2+1+0.5)  บาร์ลำดับที่ 3 - 5.5/10  ใกล้ BTS ช่องนนทรี สถานที่สวย มีมุมถ่ายร

เยอรมัน - ตัวแม่แห่งการเก็บขวดเพื่อรีไซเคิล

Bild
จากความเห่อ ChatGPT เพื่อจะทดลองว่าใช้การได้จริงขนาดไหน?​ เลยลองทดสอบด้วยคำถามว่า  "อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเก็บขวดพลาสติกกลับเข้าระบบรีไซเคิล?" จากภาพของสถิติในปี 2015 ที่มักได้รับการพูดถึงก็คือ เยอรมนี มีอัตราการรีไซเคิลขวด PET สูงถึง 94% เทียบกับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงแล้ว ห่างกันแบบไม่ติดฝุ่นเลยทีเดียว คำถามคือ "เยอรมนีทำได้ยังไง?" เวลาคุยเรื่องนี้กับบริษัทใหญ่ ๆ ในไทยหรือตามวงสัมมนาต่าง ๆ เราจะได้ยินคำว่า  "ก็คนเค้ามี #จิตสำนึก ไง คนไทยไม่มีหรอก" ตรงนี้ คนเยอรมันเองได้ยินก็จะส่ายหัวว่า ไม่จริงหรอก แต่ที่มันสำเร็จ ก็เพราะว่ามีปัจจัยเกื้อหนุนมากมาย ที่สอดคล้องกับที่คุยกับคุณ Open AI ที่ก็ร่ายยาวมา ตามที่เรายิงคำถามไป ซึ่งอ่านแล้วค่อนข้างจะพยักหน้าหงึกหงักว่า "เออ ก็พูดได้ครอบคลุมอยู่นะ ที่นี้ จะตรวจการบ้านนักศึกษาได้ยังไงล่ะ ถ้า AI จะตอบได้หรูหราแบบนี้" อัตราการเก็บขวดคืนที่สูง เนื่องมาจาก "ระบบการจัดเก็บ" ทั่วประเทศที่มีประสิทธิภาพสูง "รัฐบาล" สนับสนุนอย่างจริงจัง ด้วยการทั้งให้เงินอุดหนุนกิจกรรมส่งเสริมการรีไซเค

ราคาของคำโกหก x Chornobyl

Bild
#ราคาของคำโกหก ดู miniseries เรื่อง #Chornobyl (ขอสะกดด้วยตัว O แทนตัว E เพื่อเป็นการสะกดในภาษายูเครน) แล้วรู้สึก "สะพรึงกลัว" มาก ว่าคำโกหก ที่ซ้อนคำโกหก และซ้อนคำโกหก จนความจริงถูกฝังเลือนด้วยคำโกหกที่ทับถมกันจนขุดหาต้นตอไม่เจอ มันมีต้นทุนที่มหาศาลขนาดไหน? จากคำให้การและหลักฐานต่าง ๆ ลงความเห็นว่า คำโกหกของโรงไฟฟ้า Chornobyl เป็นโดมิโน่ตัวแรกที่นำมาซึ่งความล่มสลายของสหภาพโซเวียต อาณาจักรอันกว้างใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่ของสองทวีป . บทเรียนจากการที่ภาครัฐกระทำการปิดหู ปิดปาก ปิดตา ไม่รับฟังความเห็นของประชาชน และไม่เปิดให้ประชาชนรับรู้ความจริง มักจะแลกมาด้วยการลุกฮือ และจบลงด้วย "หายนะ" ทุกครั้ง ด้วยผลลัพธ์ที่ไม่มีฝ่ายไหนเป็นผู้ชนะไปได้ตลอด เห็นได้จากทางการพยายามเกณฑ์คนงานเหมืองไปขุดดินด้วยมือเปล่าโดยไม่ยอมบอกว่าเป็นเรื่องอะไร? โดยบอกว่าเรื่องนั้นพวกคุณไม่จำเป็นต้องรู้ และมีทหารถือปืน พร้อมที่จะใช้ความรุนแรง ก็ไม่สามารถทำให้คนงานเหล่านั้น "อยาก" ที่จะสละชีพเพื่อชาติ หรือ "เชื่อฟัง"​ แต่อย่างใด เห็นได้จากหัวหน้าคนงานพูดว่า "คุณไม่มีกระสุนปืนพอที

ฝึกภาษาเยอรมันกับไพ่ทาโรต์

Bild
หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องราวของไพ่ทำนายอนาคต ไพ่ทาโรต์ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือยอดนิยม ซึ่งก็มีไพ่แตกแยกย่อยออกไปอีก ไม่ว่าจะเป็นไพ่อักษรรูน ไพ่เลอนอร์มองด์ และไพ่ออราเคิล ที่ก็จะมีวิธีทำนายและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ  ทีนี้ ไม่ได้มาชวนดูดวงนะคะ 😂😂😂 คือดูไม่เป็น ที่ซื้อมาทั้งหมด 9 สำรับ ตลอดเวลา 13 เดือนที่อาศัยที่เยอรมนีก็เพื่อเอามาเป็นเพื่อนเล่น แล้วชอบดูรูป กับสงสัยเรื่อง "ความน่าจะเป็น"​ เช่น ไพ่หนึ่งสำรับมี 78 ใบ โอกาสที่จะได้ไพ่ major Arcana อย่าง The Sun คู่กับไพ่ The Lover เป็นเท่าไหร่?​ มีการทำข้อมูลใส่ excel sheet ตลอดเวลาสามเดือนไว้ด้วย  สิ่งที่อยากนำเสนอคือ เราสามารถ #ฝึกภาษาเยอรมัน หรือภาษาอังกฤษได้จากการหยิบไพ่ทาโรต์ออกมาในแต่ละวัน เหมือนเป็นกิจวัตรอย่างหนึ่งตอนเช้าหรือก่อนนอน เข้าไปรับชมได้จาก YouTube เลยนะคะ จะได้ดูไพ่สำรับต่าง ๆ ไปด้วย เผื่อชอบชุดไหนจะได้ลองไปปรับใช้กับการเรียนภาษาและเผื่อค้นพบทักษะการอ่านไพ่เป็นของแถมอีกด้วย 

หนังสืองงงงของนักเขียนญี่ปุ่นที่ใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมนี

Bild
#รีวิวหนังสือ Sendbo-o-te (เยอรมัน) #ผู้อัญเชิญไฟ (ไทย) หรือ Emissary (อังกฤษ) - Yoko Tawada เล่มนี้ลองอ่านเพราะได้รับการแนะนำมาและประวัติผู้เขียนก็น่าสนใจ คือ เป็นคนญี่ปุ่นที่ใช้ชีวิตอยู่ที่เยอรมนี และเขียนหนังสือทั้งภาษาญี่ปุ่นและเยอรมันออกมามากมาย ฝ้ายจะรีวิวบางตอนที่น่าสนใจนะคะ - หนังสือมี #ความประหลาด และผสมปนเปมากมาย ตั้งแต่ #ระดับปัจเจกบุคคล คือความสัมพันธ์ของครอบครัวที่เด็กน้อยเติบโตมากับญาติผู้ใหญ่ โดยปราศจากพ่อแม่ ซึ่งกลายเป็น “บรรทัดฐาน” ของสังคมในเรื่องราวนี้ ดังนั้น การที่เด็ก ๆ ไปโรงเรียน แล้วก็พบว่าเด็กคนอื่น ๆ ก็ถูกเลี้ยงดูโดยคุณทวดมากกว่าพ่อแม่ ทำให้การล้อเลียนว่า “ลูกกำพร้า” “ลูกไม่มีพ่อมีแม่” หรือ “พ่อแม่ไม่รัก” ไม่มีผลอย่างใดเลย อีกทั้งการสอนคำว่า “พ่อแม่” ไม่มีความจำเป็นในบริบทนี้ - #ระดับสังคม มีการพูดถึงความล่มสลายของระบบเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิม ซึ่งที่น่าสนใจมาก คือมีการพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และความมักง่ายของสังคมมนุษย์แทรกอยู่เป็นระยะ ๆ ในเนื้อเรื่อง ที่ฝ้ายอ่าน ๆ ไป ก็รู้สึกแบบ “โห นี่หนังสือเล่มนี้ พูดเรื่องความยั่งยืนเรอะ?” การทิ้งขยะลงทะเล โดยยกตัวอย่างจ